วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

การเมืองการปกครองของไทย

ประวัติการเมืองการปกครองของไทย
ประเทศไทยมีการบันทึกประวัติศาสตร์เป็นลายลักษณ์อักษรตั้งแต่งสมัยสุโขทัยประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองของไทยก็เริ่มตั้งแต่สมัยสุโขทัยเช่นกัน การเมืองการปกครองสมัยสุโขทัย(1781-1921) อาณาจักรสุโขทัยมีการแบ่งการปกครองออกเป็น 3 ยุด คือ ยุดแรก ปกครองแบบพ่อปกครองลูก คำนำหน้าพระนามพระมหากษัตริย์จะมีคำว่า พ่อขุนนำหน้า ลักษณะเด่น -มีพลเมืองน้อยปกครองง่าย มีความใกล้ชิดกันระหว่างประชาชนกับพระมหากษัตริย์ ยุคกลาง ปกครองแบบจักรพรรดิ คำนำหน้าพระนามของพระมหากษัตริย์จะมีคำว่า พญานำหน้า ลักษณะเด่น มีประชากรเพิ่มมากขึ้น ผู้ปกครองมีอำนาจเด็ดขาดมากขึ้น ยุคปลาย ปกครองแบบธรรมราชา คำนำหน้าพระนามของพระมหากษัตริย์จะมีคำว่า พระมหาธรรมราชาที่นำหน้า ลักษณะเด่น -นำเอาหลักธรรมของศาสนาพุทธในเรื่องการเป็นผู้นำผู้ปกครองมา ใช้ควบคุมพฤตกรรมพระมหากษัตริย์ คือ ทศพิธราชธรรม”  ประเทศไทยเป็นชาติที่เก่าแก่และมีประวัติความเป็นมา ที่ยาวนานชาติหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การศึกษาประวัติการเมืองการปกครองของไทย จึงเริ่มตั้งแต่ที่ไทยได้ตั้งอาณาจักรที่มั่นคงขึ้นในปี พ..1781 โดยอาณาจักรแรกของไทย คือ อาณาจักรสุโขทัย ซึ่งสถาปนาขึ้นโดยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ซึ่งเป็นต้นราชวงศ์พระร่วง
การเมืองการปกครองของไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ..2475 เป็นการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งเป็นการปกครองที่อำนาจสูงสุดเป็นของพระมหากษัตริย์แต่เพียงพระองค์เดียว ตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ การเมืองการปกครองของไทย แบ่งออกได้ 4 สมัย ดังนี้ (www.parliamentjunior.in.th : 17 ก.ย.51)
1. สมัยสุโขทัย ( .. 1792 - .. 1981 )
ในสมัยสุโขทัย การปกครองเป็นแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เนื่องจากอำนาจสูงสุดในการปกครองรวมอยู่ที่พ่อขุนพระองค์เดียว โดยพ่อขุนไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบต่อประชาชน ในสมัยสุโขทัยได้มีการจำลองลักษณะครอบครัวมาใช้ในการปกครอง ทำให้ลักษณะการใช้อำนาจของพ่อขุนเกือบทุกพระองค์ เป็นการใช้อำนาจแบบให้ความเมตตาและให้เสรีภาพแก่ราษฎรตามสมควร

ลักษณะทางการเมืองการปกครอง
ในสมัยสุโขทัย พ่อขุนแห่งกรุงสุโขทัยทรงเป็นประมุขและทรงปกครองประชาชนในลักษณะบิดาปกครองบุตรคือ ถือว่าพระองค์เป็นพ่อที่ให้สิทธิและเสรีภาพและมีความใกล้ชิดกับประชาชน มีหน้าที่ให้ความคุ้มครองป้องกันภัยและส่งเสริมความสุขให้ประชาชน ประชาชนในฐานะที่เป็นบุตรมีหน้าที่ให้ความเคารพและเชื่อฟังพ่อขุน
พ่อขุนกับประชาชนในรูปแบบของการปกครองแบบบิดาปกครองบุตร ก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน กล่าวคือ ประชาชนมีสิทธิถวายฎีกา หรือร้องทุกข์โดยตรงต่อพ่อขุน เช่น ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้มีกระดิ่งแขวนไว้ที่ประตูวัง ถ้าประชาชนต้องการถวายฎีกาก็จะไปสั่นกระดิ่ง พระองค์ก็จะเสด็จออกมาทรงชำระความให้
ในการจัดการปกครองอาณาจักรสุโขทัยซึ่งมีกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี หรือเป็นเมืองหลวงอำนาจในการวินิจฉัยสั่งการจะอยู่ที่เมืองหลวง ซึ่งเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์
พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยทรงดำเนินการปกครองประเทศด้วยพระองค์เอง โดยมีพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เป็นผู้ช่วยเหลือ ในการปกครองต่างพระเนตรพระกรรณ และรับผิดชอบโดยตรงต่อพระองค์
อาณาจักรสุโขทัยได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ที่พระองค์ได้ทรงรวบรวมหัวเมืองน้อยใหญ่เข้ามาไว้ในปกครองมากมาย จึงยากที่จะปกครองหัวเมืองต่าง ๆ เหล่านั้นด้วยพระองค์เองได้อย่างทั่วถึง
การปกครองเมืองต่าง ๆ ในสมัยสุโขทัยอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ           
  1. การปกครองส่วนกลาง
ส่วนกลาง ได้แก่ เมืองหลวงและเมืองลูกหลวง
เมืองหลวง คือ สุโขทัย อยู่ในความปกครองของพระมหากษัตริย์โดยตรง
เมืองลูกหลวง เป็นเมืองหน้าด่านที่อยู่รายล้อมเมืองหลวงทั้ง 4 ทิศ เมืองเหล่านี้พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งให้พระราชโอรสไปปกครอง ซึ่งได้แก่
             (1) ทิศเหนือ เมืองศรีสัชนาลัย (สวรรคโลก)
             (2) ทิศตะวันออก เมืองสองแคว (พิษณุโลก)
             (3) ทิศใต้ เมืองสระหลวง (พิจิตร)
             (4) ทิศตะวันตก เมืองกำแพงเพชร (ชากังราว)
ในสมัยสุโขทัยเรียกเมืองหลวงและเมืองลูกหลวงรวมกันว่า ราชธานี
             2. การปกครองหัวเมืองหัวเมือง หมายถึง เมืองที่อยู่รอบนอกอาณาเขตของเมืองหลวง ซึ่งมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ
             2.1 หัวเมืองชั้นนอก
             หัวเมืองชั้นนอกเป็นเมืองที่อยู่ห่างไกลกรุงสุโขทัย หรืออยู่รอบนอกอาณาเขตของเมืองหลวง
             2.2 หัวเมืองประเทศราช
             หัวเมืองประเทศราชเป็นเมืองภายนอกพระราชอาณาจักร เมืองเหล่านี้มีกษัตริย์ของตนเองปกครอง แต่ยอมรับในอำนาจของกรุงสุโขทัย พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยเป็นเพียงเจ้าคุ้มครอง โดยหัวเมืองเหล่านี้จะต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวาย และส่งทหารมาช่วยรบเมื่อทางกรุงสุโขทัยมีคำสั่งไปร้องขอ

ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง กรุงสุโขทัยมีหัวเมืองประเทศราชจำนวนมาก เช่น เมืองเซ่า น่าน เวียงจันทน์ นครศรีธรรมราช ยะโฮร์ หงสาวดี เป็นต้น
ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง เมื่อ พ..1826 ได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้น โดยใช้อักษรมอญและอักษรขอม รวมทั้งอักษรไทยเก่าแก่บางอย่างเป็นตัวอย่าง ทำให้ชาติไทยมีอักษรไทยใช้เป็นวัฒนธรรมของเราเอง
ในสมัยสุโขทัย นอกจากจะมีความสัมพันธ์อันดีกับเมืองอิสระทางเหนือแล้ว ยังมีการค้าขายติดต่อกับต่างประเทศด้วย เช่น จีน มอญ มลายู ลังกา และอินเดีย สมัยสุโขทัยจึงเป็นสมัยที่เริ่มมีชาวต่างประเทศเข้ามาประกอบการต่าง ๆ เช่น ชาวจีนเข้ามาทำเครื่องสังคโลก และเป็นสมัยที่มีการสนับสนุนการค้าโดยไม่เก็บภาษีศุลกากร หรือ จกอบเพื่อเป็นแรงจูงใจสำหรับการค้าขายระหว่างประเทศมากขึ้น
นอกจากนี้ พ่อขุนรามคำแหงยังทรงศรัทธาในหลักปฏิบัติที่เคร่งครัดของพระภิกษุ ในพระพุทธศาสนานิกายหินยานที่มีความเจริญรุ่งเรืองอยู่ในประเทศลังกา โดยได้ทรงนิมนต์พระภิกษุสงฆ์ลัทธิลังกาวงศ์มาประจำที่กรุงสุโขทัย เพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนาลัทธิใหม่ และในเวลาไม่นานนัก พระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ก็มีความเจริญในสุโขทัย ประชาชนพากันยอมรับนับถือและกลายมาเป็นศาสนาประจำชาติไทยในที่สุด
การนำพระพุทธศาสนาเข้ามา และพ่อขุนรามคำแหงได้ทรงทำตัวอย่าง ให้ประชาชนเห็นถึงความเคารพของพระองค์ที่มีต่อพระภิกษุและหลักธรรม ทำให้ศาสนากลายเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ก่อให้เกิดศีลธรรมจรรยาและระเบียบวินัยแก่ประชาชน ทำให้มีความสามัคคีปรองดองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เกิดความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง เพราะทั้งพ่อขุนและประชาชนมีหลักยึดและปฏิบัติในทางธรรม
พระมหาธรรมราชาลิไทย พ่อขุนของสุโขทัยในสมัยต่อมา ได้ทรงนิพนธ์หนังสือไทยเรื่องเกี่ยวกับศาสนา ชื่อ ไตรภูมิพระร่วงและในหนังสือเรื่องนี้เอง ได้กล่าวถึง ทศพิธราชธรรมอันเป็นหลักธรรมของพระมหากษัตริย์ไทยตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
อาณาจักรสุโขทัยมีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ต่อมาก็ค่อย ๆ เสื่อมอำนาจ โดยบรรดาหัวเมืองประเทศราชต่าง ๆ เริ่มแยกตัวเป็นอิสระ ไม่ขึ้นต่อสุโขทัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหัวเมืองเผ่าไทยทางใต้ คือ กรุงศรีอยุธยา ได้แผ่อำนาจเข้ามามีอิทธิพลเหนือกรุงสุโขทัย ในที่สุด อาณาจักรไทยยุคสุโขทัยก็ต้องอยู่ภายใต้อิทธิพลของกรุงศรีอยุธยา
2. สมัยอยุธยาตอนต้น
    สมัยอยุธยา ( .. 1893 - .. 2310 )
             การปกครองในสมัยอยุธยาเป็นการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อำนาจในการปกครองจะอยู่ที่พระมหากษัตริย์เพียงพระองค์เดียว เหมือนกับในสมัยสุโขทัย แต่ต่อมา แนวความคิดในการปกครองนี้ได้เปลี่ยนแปลงไป

ลักษณะทางการเมืองการปกครอง
สมัยอาณาจักรอยุธยาตอนต้น มีการปกครองแบบเดียวกับสมัยสุโขทัย แต่หลังจากที่ไทยสามารถตีนครธมของขอมได้ใน พ..1974 และกวาดต้อนขุนนางและประชาชนชาวขอมที่เคยอยู่ภายใต้อำนาจของอินเดียเข้ามาในอยุธยาเป็นจำนวนมาก ขุนนางและประชาชนเหล่านี้ได้เอาแนวความคิดในการปกครองของเขมร ที่ได้รับอิทธิพลส่วนหนึ่งจากลัทธิพราหมณ์มาใช้ในกรุงศรีอยุธยา คือ แบบเทวราชา หรือ เทวสิทธิ ทำให้แนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องเทวราชาเข้ามามีอิทธิพลต่อสังคมไทยมากขึ้น และทำให้สถาบันการปกครองของไทยเปลี่ยนแปลงไป จากการปกครองแบบ "พ่อ" กับ "ลูก" ในสมัยสุโขทัย มาเป็นการปกครองแบบ "นาย" กับ "บ่าว" ทั้งนี้เพราะการปกครองแบบเทวสิทธิ์ถือว่า พระมหากษัตริย์เป็นเสมือนเจ้าชีวิต เป็นผู้มีอำนาจเด็ดขาด สามารถกำหนดชะตาชีวิตของผู้อยู่ใต้การปกครองได้ และถือว่าอำนาจในการปกครองนั้น พระมหากษัตริย์ทรงได้รับจากสวรรค์ เป็นเทวโองการ การกระทำของพระมหากษัตริย์ถือว่าเป็นความต้องการของพระเจ้า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นเสมือนเทพเจ้าองค์หนึ่ง หรือเป็น "สมมุติเทพ" กล่าวคือ เป็นนายของประชาชน และประชาชนเป็นบ่าวของพระมหากษัตริย์ที่จะขัดขืนมิได้โดยเด็ดขาด พระมหากษัตริย์จึงทรงเป็นเจ้าชีวิตของประชาชนทุกคน
สำหรับเรื่องการปกครองนั้น เนื่องจากสมัยอยุธยามีระยะเวลายาวนาน และมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบและหลักเกณฑ์ในการปกครอง ไม่ได้ใช้รูปแบบเดียวกันตลอดสมัย จึงอาจแบ่งการปกครองในสมัยอยุธยาออกได้เป็น 2 สมัย คือ
               2.1 สมัยอยุธยาตอนต้น ( ..1893 - .. 1991 )
            การปกครองในสมัยอยุธยาตอนตัน เริ่มตั้งแต่ พ..1893 ในรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1  (อู่ทอง) ซึ่งเป็นผู้สถาปนาอาณาจักรอยุธยา ไปจนกระทั่งถึงสิ้นรัชสมัยของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ใน พ..1991   การจัดระเบียบการปกครองในสมัยอยุธยาตอนต้น แบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ                   

  
 1) การปกครองส่วนกลาง  พระเจ้าอู่ทองได้ทรงจัดระเบียบการปกครองส่วนกลางเป็นแบบจตุสดมภ์ตามแบบขอม มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้อำนวยการปกครองสูงสุด และมีเสนาบดี 4 คน คือ ขุนเมือง (เวียง) ขุนวัง ขุนคลัง และขุนนา เป็นผู้ช่วยดำเนินการเกี่ยวกับกิจการทั้ง 4 คือ
                            (1) เมือง (เวียง) รับผิดชอบด้านรักษาความสงบและปราบปรามโจรผู้ร้าย
                           (2) วัง รับผิดชอบเกี่ยวกับราชสำนัก การยุติธรรม และตัดสินคดีความต่าง ๆ
                            (3) คลัง รับผิดชอบงานด้านคลังมหาสมบัติ การค้า และภาษีต่าง ๆ
                            (4) นา รับผิดชอบเกี่ยวกับการเกษตร
โดยให้ กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และเป็นศูนย์กลางการปกครอง

                     2) การปกครองหัวเมือง
             สมัยอยุธยาตอนต้นได้แบ่งการปกครองหัวเมือง ออกเป็นหัวเมือง 3 ประเภท คือ
                          (1) หัวเมืองชั้นใน  หัวเมืองชั้นในประกอบด้วยเมืองหน้าด่านชั้นในสำหรับป้องกันในราชธานี 4 ทิศ คือ ลพบุรี นครนายก พระประแดง และสุพรรณบุรี รวมทั้งหัวเมืองชั้นในเรียงรายตามระยะทางคมนาคม สามารถติดต่อกับราชธานีได้ภายใน 2 วัน เช่น นครพนม สิงห์บุรี ปราจีนบุรี ชลบุรี เพชรบุรี ราชบุรี เป็นต้น
                          (2) หัวเมืองชั้นนอก  หัวเมืองชั้นนอกหรือเมืองพระยามหานคร ได้แก่ เมืองซึ่งอยู่นอกเขตหัวเมืองชั้นใน และอยู่ไกลออกไปตามทิศต่าง ๆ ได้แก่ ทิศตะวันออก เช่น โคราช จันทบุรี ทิศใต้ เช่น ไชยา นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ถลาง ทิศตะวันตก เช่น ตะนาวศรี ทวาย และเชียงกราน เมืองเหล่านี้บางเมืองในสมัยสุโขทัย จัดเป็นเมืองประเทศราช แต่ในสมัยอยุธยาได้เปลี่ยนสภาพมาเป็นหัวเมืองชั้นนอก
                          (3) หัวเมืองประเทศราช 
หัวเมืองประเทศราช ได้แก่ เมืองมะละกา ยะโฮร์ ทางแหลมมลายู และกัมพูชาด้านตะวันออก
                การปกครองส่วนภูมิภาคนอกจากจัดเป็นหัวเมืองต่าง ๆ แล้ว ยังมีการจัดระเบียบการปกครองท้องที่ในหัวเมืองชั้นในอีก โดยแบ่งออกเป็นแขวง แขวงแบ่งออกเป็นตำบล และตำบลแบ่งออกเป็นหมู่บ้าน โดยมีผู้ปกครองตามระดับ คือ หมื่น เป็นบรรดาศักดิ์ของหัวหน้าผู้ปกครองระดับแขวง และพันเป็นบรรดาศักดิ์ของหัวหน้าผู้ปกครองระดับตำบลและหมู่บ้าน

ประชาชนในสมัยอยุธยาตอนต้นมีฐานะเป็นไพร่ ทำหน้าที่ทั้งทางทหาร และหน้าที่ทางพลเรือนพร้อมกันไป เพราะว่าการปกครองในสมัยนั้นยังไม่ใช้ทฤษฎีการแบ่งงาน ประชาชนเป็นไพร่ได้รับที่ดินตามที่ตนและครอบครัวจะทำการเพาะปลูกได้ เมื่อมีผลผลิตเกิดขึ้น ไพร่จะต้องมอบส่วนหนึ่งให้กับขุนวัง หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ดูแลที่ดินนั้น ไพร่จะต้องสละเวลาส่วนหนึ่งไปรับใช้ผู้ที่ยอมให้ตนอยู่ในที่ดินของเขา ขุนนางจะเป็นผู้ควบคุมไพร่โดยตรง และมีหน้าที่ระดมกำลังยามศึกสงคราม หรือเกณฑ์แรงงานไปช่วยทำงานสาธารณประโยชน์ ซึ่งเท่ากับว่าประชาชนหรือไพร่ทุกคนต้องรับใช้พระมหากษัตริย์ หรือไพร่มีฐานะเป็นทหารทุกคน

วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

ลักษณะของอำนาจอธิปไตยและองค์ประกอบของรัฐ

แนวความคิดว่าด้วยรัฐ 
                รัฐ หรือประเทศเป็นหน่วยการเมืองที่สำคัญที่สุด และเป็นส่งที่มีบทบาทอย่างมากในการเมืองสมัยใหม่ ในพจนานุกรมได้ให้ความหมายว่า แว่นแคว้น บ้านเมือง ประเทศ มาจากคำบาลี รฏฐ หรือ ราษฎร ในภาษาสันสกฤต
องค์ประกอบของรัฐ
            รัฐหนึ่งๆ จะมีความเป็นรัฐที่สมบูรณ์ได้ จะต้องมีองค์ประกอบครบทั้ง 4 ประการ คือ
1.             ประชาชน เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของรัฐ กล่าวคือ รัฐทุกรัฐจะต้องมีประชาชนอาศัยอยู่จึงจะเป็นรัฐขึ้นมาได้ ความเจริญก้าวหน้าหรือตกต่ำเสื่อมโทรมของรัฐนั้นส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับประชาชนของรัฐนั้นๆ นั่นเอง  ดังนั้นทรัพยากรมนุษย์จึงเป็นสิ่งที่มีค่า การที่ประชาชนมีคุณภาพสูง คือ สุขภาพอนามัยดี มีความรู้สูง มีระเบียบวินัยดี ก็จะสามารถพัฒนาประเทศให้ก้าวไปสู่ความเจริญก้าวหน้าได้ถึงแม้ทรัพยากรจะไม่ค่อยเอื้ออำนวยก็ตาม      ทั้งนี้จำนวนประชากรก็เป็นส่วนหนึ่งที่แสดงถึงความเป็นมหาอำนาจ เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน มีปะชากรกว่าพันล้านคน แต่บางครั้งมหาอำนาจก็อาจจะมีประชากรจำนวนน้อย แต่มีคุณภาพสูง และการที่เราจะวางกฎเกณฑ์ที่แน่นอนได้ว่ารัฐหนึ่งๆ ควรมีประชาสักเท่าไร คงจะกระทำไม่ได้ เพียงแต่อนุมานไว้ว่ามีจำนวนประชากรเพียงพอที่สามารถปกครองตัวเองได้ก็เป็นรัฐได้
2.             ดินแดนที่แน่นอน     ดินแดนที่แน่นอนนี้มีพื้นดิน น่านน้ำทั้งอาณาเขตในแม่น้ำ ทะเลสาบ และอาณาเขตใต้ทะเล นอกจากนี้ยังรวมถึงขอบเขตของท้องฟ้าที่อยู่เหนืออาณาเขตของพื้นดินและท้องน้ำทั้งหมดอีกด้วย    อาณาเขตบนพื้นดินนั้นตามหลักการสากลแล้วมักยึดเอาพรมแดนธรรมชาติ เช่น เทือกเขา แม่น้ำ เป็นเกณฑ์ สำหรับในที่ราบก็จะมีการปักเขตแดนอย่างชัดเจน  ส่วนอาณาเขตในท้องทะเลนั้น เดิมทีตามหลักสากลจะยึดถือเอาว่าอาณาเขตของรัฐที่เรียกว่าเขตอธิปไตยนั้น นับจากชายฝั่งออกไปในทะเล 3 ไมล์ ซึ่งจัดว่าปลอดภัยจากวิถีของกระสุนปืนใหญ่ของเรือรบสมัยก่อน ต่อมาเนื่องจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอาวุธปืนใหญ่ยิงได้ไกลกว่า 3 ไมล์ ทำให้มีการกำหนดอาณาเขตทางท้องทะเลใหม่เป็น 12 ไมล์ แต่ปัจจุบันแทบไม่มีความหมาย เพราะเทคโนโลยีทางอาวุธประเภทขีปนาวุธสามารถยิงไปได้ไกลมาก จึงได้เปลี่ยนไปพิจารณาทางเศรษฐกิจแทน เนื่องจากท้องทะเลนั้นเป็นแหล่งที่มั่งคั่งด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นสัตว์น้ำ และแหล่งแร่ อาทิ น้ำมัน ทองคำ ยูเรเนียมต่อมาได้มีการตกลงกันทำอนุสัญญา (Convention) พ.ศ.2535 ในการประชุมนานาชาติ ที่จัดขึ้นโดยองค์การสหประชาชาติ แต่กว่าจะมีผลบังคับใช้ โดยการที่มีประเทศให้สัตยาบันครบ 60 ประเทศ ก็เป็นปี พ.ศ.2537 หลักการสำคัญ คือ ทุกประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อกับท้องทะเลจะมีอาณาเขตที่มีอำนาจอธิปไตยอย่างเต็มที่นับจากชายฝั่งออกไป 12 ไมล์ ส่วนเขตเศรษฐกิจจำเพาะ คือ เขตที่รัฐเจ้าของจะมีสิทธิอธิปไตยออกไป 200 ไมล์ เรียกว่า เขตเศรษฐกิจจำเพาะ (Exclusive Economic Zone) ถือเป็นเขตแดนที่รัฐเจ้าของมีสิทธิในทรัพยากรทั้งมวลในทะเล บรรดาเรือของรัฐอื่นสามารถที่จะแล่นผ่านได้ แต่ต้องไม่ทำการจับสัตว์น้ำหรือทำกิจกรรมทางธุรกิจใดๆ ทั้งสิ้น แต่ในทางปฏิบัติการวัดพื้นที่แบบนี้ ย่อมทำให้มีอาณาเขตที่ทับกันอยู่เป็นส่วนใหญ่
3.             รัฐบาล คือ องค์การหรือสถาบันทางการเมือง ที่สามารถจัดระเบียบ ออกกฎเกณฑ์ต่างๆ และรักษาความสงบในการอยู่ร่วมกันของประชาชน ทั้งยังเป็นตัวแทนของประชาชน ทำการทุกอย่างในนามของประชาชนกลุ่มนั้นในอาณาเขตนั่นเอง    การที่มีรัฐบาลขึ้นได้นั้น จำเป็นจะต้องได้รับความยินยอมจากประชาชน รัฐบาลจะยืนยงอยู่ได้ก็ด้วยการสนองความต้องการของประชาชน สามารถรักษาผลประโยชน์ของประชาชน ให้ความยุติธรรมต่อประชาชน ป้องกันการรุกรานจากประเทศอื่น โดยประชาชนมีหน้าที่เสียภาษีอากรและปฏิบัติตามกฎหมายของรัฐบาลที่บัญญัติออกมา
4. อำนาจอธิปไตย เป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ซึ่งก็คือ การแสดงออกซึ่งเอกราชของประเทศหนึ่งๆ ที่สามารถจะเป็นตัวของตัวเองในการกำหนดนโยบายของตนเองและนำนโยบายของตนออกมาบังคับใช้ได้เต็มที่ โดยไม่ต้องตกอยู่ใต้คำบัญชาของประเทศอื่นใด
         อำนาจอธิปไตยเป็นแนวคิดทางกฎหมาย ซึ่งอาจแบ่งออกเป็นอำนาจอธิปไตยภายในและอำนาจอธิปไตยภายนอก กล่าวคือ อำนาจอธิปไตยภายในเป็นอำนาจที่ออกกฎหมายและรักษากฎหมาย ตลอดจนบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย ส่วนอำนาจอธิปไตยภายนอก คือ อำนาจที่ประเทศจะดำเนินความสัมพันธ์กับประเทศอื่นๆ รวมทั้งอำนาจที่จะประกาศสงครามและทำสนธิสัญญาสันติภาพ อาจกล่าวอีกนัยหนึ่งก็ได้ว่า เอกราช ก็คือ อำนาจอธิปไตยภายนอกนั่นเอง
         หากถามว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของใครปัจจุบันดูเหมือนจะเห็นพ้องต้องกันโดยทั่วไปว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน สำหรับประเทศไทยนั้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ระบุไว้ชัดเจนใน มาตรา 3 ว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล มีการแบ่งแยกองค์กรที่ใช้อำนาจออกเป็น 3 หน่วยงาน คือ
         อำนาจนิติบัญญัติ คือ อำนาจในการออกกฎหมายไว้ใช้ในการปกครองประเทศ ตามหลักโดยทั่วไปแล้ว คือ รัฐสภา ประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งประชาชนได้เลือกตั้งเข้ามาทำหน้าที่แทนประชาชนในการออกกฎหมายต่างๆ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยภายใน และเพื่อนำมาซึ่งความกินดีอยู่ดีของประชาชนตลอดจนความมั่นคงของประเทศ ประกอบกับมีวุฒิสภาคอยพิจารณาให้ความเห็นชอบ และให้คำแนะนำในเรื่องของการออกกฎหมายต่างๆ
          อำนาจบริหาร คือ อำนาจซึ่งคณะรัฐมนตรีและข้าราชการทั้งหลายใช้ในการบริหาร ปกครองประเทศ ตามกฎหมายซึ่งฝ่ายนิติบัญญัติได้ตราออกมา
         อำนาจตุลาการ หรือ อำนาจศาล มีอำนาจตัดสินคดีขัดแย้งต่างๆ ระหว่างบุคคลกับบุคคล หรือบุคคลกับรัฐตามกฎหมายที่ฝ่ายนิติบัญญัติได้ตราออกมาก หรือในบางกรณีของประเทศ ยังสามารถพิจารณาได้ด้วยว่ากฎหมายที่ฝ่ายนิติบัญญัติตราออกมาขัดกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นอำนาจสูงสุดของประเทศหรือไม่
                สรุปคำจำกัดความของรัฐสมัยใหม่ คือชุมชนของมนุษย์จำนวนหนึ่งที่ครอบครองดินแดนที่มีอาณาเขตแน่นอน รวมกันอยู่ภายใต้รัฐบาลเดียวกัน ซึ่งรัฐบาลมิได้อยู่ในอำนาจควบคุมของรัฐอื่นๆ สามารถที่จะปกครอง และดำเนินกิจการภายในของรัฐตลอดจนทำการติดต่อกับรัฐอื่นๆ ได้โดยอิสระ







ความเป็นมาของพระธาตุกล่องข้าวน้อยฆ่าแม่

 
ธาตุก่องข้าวน้อย
 เป็นเจดีย์เก่าสมัยขอม ตั้งอยู่ในทุ่งนา ตำบลตาดทอง อำเภอเมืองยโสธร ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 9 กม ไปตามทางหลวงหมายเลข 23 (ยโสธร-อุบลราชธานี) ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 194 เลี้ยวซ้ายไปอีก 1 กิโลเมตร
ธาตุก่องข้าวน้อย เป็นเจดีย์เก่าสมัยขอม สร้างในพุทธศตวรรษที่ 23-25 ตรงกับสมัยอยุธยาตอนปลาย เป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน รูปทรงแปลกไปจากเจดีย์โดยทั่วไป คือมีลักษณะเป็นก่องข้าว องค์พระธาตุเป็นเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้สาม ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ 2 เมตร ก่อสูงขึ้นไปประมาณ 1 เมตร ช่วงกลางขององค์พระธาตุ มีลวดลายทำเป็นซุ้มประตูทั้งสี่ด้าน ถัดจากช่วงนี้ เป็นสวนยอดของเจดีย์ที่ค่อยๆ สอบเข้าหากันเป็นส่วนยอด รอบนอกของพระธาตุก่องข้าวน้อย มีกำแพงอิฐล้อมรอบขนาด 5X5 เมตร นอกจากนี้ บริเวณด้านหลังมีพระพุทธรูปอยู่องค์หนึ่ง ก่อด้วยอิฐ ชาวบ้านนับถือว่าศักดิ์สิทธิ์มาก และในเดือนห้า จะมีผู้คนนิยมมาสรงน้ำพระและปิดทอง ซึ่งเชื่อกันว่า ถ้าไม่ทำเช่นนี้ ฝนจะแล้งในปีนั้น
ธาตุก่องข้าวน้อย มีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ ซึ่งผิดไปจากปูชนียสถานแห่งอื่นๆ ที่มักเกี่ยวพันกับเรื่องพุทธศาสนา แต่ประวัติความเป็นมาของธาตุก่องข้าวน้อย กลับเป็นเรื่องของหนุ่มชาวนาที่ทำนาตั้งแต่เช้าจนเพล มารดาส่งข้าวสาย เกิดหิวข้าวจนตาลาย อารมณ์ชั่ววูบ ทำให้เขากระทำมาตุฆาตด้วยสาเหตุเพียงแต่ว่า ข้าวที่เอามาส่งดูจะน้อยไปไม่พอกิน ครั้นเมื่อกินข้าวอิ่มแล้ว ข้าวยังไม่หมด จึงได้สติคิดสำนึกผิด ที่กระทำรุนแรงต่อมารดาของตนเองจนถึงแก่ความตาย จึงได้สร้างธาตุก่องข้าวน้อยแห่งนี้ขึ้น เพี่อเป็นการอุทิศส่วนกุศล ขออโหสิกรรมและล้างบาปที่ตนกระทำมาตุฆาต
          นอกจากนี้ ที่บริเวณบ้านตาดทอง กรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดค้นเรื่องราวของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้ค้นพบโครงกระดูกมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และภาชนะลายเขียนสีแบบบ้านเชียง
ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่
ครั้งหนึ่งเมื่อหลายร้อยปีมาแล้วที่บ้านตาดทอง ในฤดูฝนมีการเตรียมปักดำกล้าข้าวทุกครอบครัวจะออกไปไถนาเตรียมการเพราะปลูก  ครอบครัวของชายหนุ่มคนหนึ่งกำพร้าพ่อ  ไม่ปรากฏชื่อหลักฐาน ก็ออกไปปฏิบัติภารกิจเช่นเดียวกัน
วันหนึ่งเขาไถนาอยู่นานจนสาย  ตะวันขึ้นสูงแล้วรู้สึกเหน็ดเหนื่อยอ่อนเพลียมากกว่าปกติ และหิวข้าวมากกว่าทุกวัน  ปกติแล้วแม่ผู้ชราจะมาส่งก่องข้าวให้ทุกวัน แต่วันนี้กลับมาช้าผิดปกติ 
เขาจึงหยุดไถนาเข้าพักผ่อนอยู่ใต้ต้นไม้  ปล่อยเจ้าทุยไปกินหญ้าสายตาเหม่อมองไปทางบ้าน  รอคอยแม่ที่จะมาส่งข้าวตามเวลาที่ควรจะมา  ด้วยความรู้สึกกระวนกระวายใจยิ่งสายตะวันขึ้นสูงแดดยิ่งร้อนความหิวกระหายยิ่งทวีคูณขึ้น
ทันใดนั้นเขามองเห็นแม่เดินเลียบมาตามคันนาพร้อมก่องข้าวน้อยๆ  ห้อยต่องแต่งอยู่บนเสาแหรกคาน  เขารู้สึกไม่พอใจที่แม่เอาก่องข้าวน้อยนั้นมาช้ามาก  ด้วยความหิวกระหายจนตาลาย  อารมณ์พลุ่งพล่าน  เขาคิดว่าข้าวในก่องข้าวน้อยนั้นคงกินไม่อิ่มเป็นแน่  จึงเอ่ยต่อว่าแม่ของตนว่า
"อีแก่ มึงไปทำอะไรอยู่จึงมาส่งข้าวให้กูกินช้านัก
ก่องข้าวก็เอามาแต่ก่องน้อยๆ กูจะกินอิ่มหรือ
?"
ผู้เป็นแม่เอ่ยปากตอบลูกว่า "ถึงก่องข้าวจะน้อยก็น้อยต้อนแต้นแน่นในดอกลูกเอ๋ย  ลองกินเบิ่งก่อน" ความหิว ความเหน็ดเหนื่อย ความโมโห หูอื้อตาลาย ไม่ยอมฟังเสียงใดๆ เกิดบันดาลโทสะอย่างแรงกล้า คว้าได้ไม้แอกน้อยเข้าตีแม่ที่แก่ชราจนล้มลงแล้วก็เดินไปกินข้าว กินข้าวจนอิ่มแล้วแต่ข้าวยังไม่หมดกล่อง จึงรู้สึกผิดชอบชั่วดี  รีบวิ่งไปดูอาการของแม่และเข้าสวมกอดแม่
อนิจจา แม่สิ้นใจไปเสียแล้ว..
ชายหนุ่มร้อยไห้โฮ สำนึกผิดที่ฆ่าแม่ของตนเองด้วยอารมณ์เพียงชั้ววูบ  ไม่รู้จะทำประการใดดี  จึงเข้ากราบ นมัสการสมภารวัดเล่าเรื่องให้ท่านฟังโดยละเอียด 
สมภารสอนว่า "การฆ่าบิดามารดาผู้บังเกิดเกล้าของตนเองนั้นเป็นบาปหนัก เป็นมาตุฆาต ต้องตกนรกอเวจีตายแล้วไม่ได้ผุดไม่ได้เกิดเป็นคนอีก มีทางเดียวจะให้บาปเบาลงได้ก็ด้วยการสร้างธาตุก่อกวมกระดูกแม่ไว้ ให้สูงเท่านกเขาเหิน จะได้เป็นการไถ่บาปหนักให้เป็นเบาลงได้บ้าง"
เมื่อชายหนุ่มปลงศพแม่แล้ว ขอร้องชักชวนญาติมิตรชาวบ้านช่วยกันปั้นอิฐก่อเป็นธาตุเจดีย์บรรจุอัฐิแม่ไว้ จึงให้ชื่อว่า "ธาตุก่องข้าวน้อยฆ่าแม่" จนตราบทุกวันนี้
ทุกวันนี้มีผู้มากราบธาตุก่องข้าวน้อยฯทุกวันเพื่อขอขมาลาโทษเหมือนเป็นการไถ่บาปที่ทำให้พ่อแม่เสียใจ บางคนเมื่อมีลูกแล้วถึงรู้ว่าบุญคุณแม่มากสุดเหลือคณานับ เพิ่งรู้ว่าเลี้ยงดูลูกนั้นยากหนักหนาขนาดไหน จึงมาสำนึกที่ทำให้แม่ต้องเสียใจ บ้างก็มากราบไหว้เพื่อรำลึกถึงบุญคุณแม่
***** เตือนใจกันไว้แม่เป็นผู้มีพระคุณเปรียบเสมือนพระ******
*****เราควรเคารพบูชาจะทำชั่วในใจให้นึกถึงแม่ก่อนเป็นคนแรก******
คุณทำอะไรให้แม่รึยังถ้ายังก็ให้รีบทำก่อนที่คุณจะไม่มีแม่

เพลงกล่อมลูกของคนอีสาน

     นอนสาหล่าหลับตาแม่สิกล่อม นอนอู่แก้วนอนแล้วแม่สิกวย นอนสาหล่ากัลยาน้อยอ่อน แม่สิสอนลูกแก้วจอมสร้อยให้ค่อยฟัง เป็นคนนี่ยำเกรงผู้ใหญ่ คารวะละผู้เฒ่าผ่านใกล้หมอบคลาน หย่างใกล้เผิ่นให้เจ้าเอิ้นขอทาง เผิ่นเอิ้นขายเจ้าอย่าได้เว้าหยาบ เป็นคำบาปบ่จบบ่งาม กริยาเลวทรามขายหน้าพ่อแม่ ลูกขี้แพ้พ่อแม่อยากอาย เกิดเป็นชายวิชาเป็นทรัพย์ เผิ่นจั่งนับถือหน้าถือตา บรรพชาสมบทคือบวช ให้หมั่นกวดศึกษาเล่าเรียน การทำเพียรกำจัดกิเลศ บ่เป็นเหตุเสียชาติตระกูล ลูกหล่าแม้ให้มีใจกรุณา ใจเมตตาเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ คนดีแม่ให้มีใจก้วงขวง คนทั้งปวงละสิยอยกเจ้า ยามกินเข้าให้คิดถึงคุณควาย พระอิศวรเผิ่นจึงมาผายโผด บ่เป็นโทษกายวาจาใจ เว้านำไผเผิ่นก้อชมชื่น ไปบ้านอื่นสิมีผู้บูชา เทวดารักษาปกป้อง ฝูงพี่น้องยอย่องสรรเสริญ อื้อ ฮือ อือ อื้อฮือ อือ ฮือ อื้อ อือ ...
เจ้าหากแม่นหลานปู่ละคนฮู้ผู้ดี แนวเศรษฐีลังกามาเกิด ผู้ประเสริฐโตเจ้าจงนอน ให้เจ้าฟังคำสอนละพุทโธโอวาท ฝูงนักปราชญ์เอิ้นผู้ฟังธรรม รัตนังอุควรคำมาก เหตุยุ่งยากนอนแล้วบ่หนี สวัสดีนอนหลับคนตื่น คันบวชเข้าในศาสนา เป็นบุญญาถมคุณพ่อแม่ พ่อแม่เฒ่าให้เลี้ยงรักษา ยามเพิ่นมรณาทำบุญส่งให้ ลูกจึงได้ซื่อว่าคนดี เอ่อ เอ้อ เออ เอ้อ เอ่อ เออ... อื้อ อือ อือม์
นอนสาเด้อหล่าหลับตาแม้สิกล่อม แม่สิไปเข็นฝ้ายเดือนหงายเว้าผู้บ่าว แม่สิเอาพ่อน้ามาเลี้ยงให้ใหญ่สูง แนวโตเป็นกำพร้าอนาถาบ่มีพ่อ ทุกข์แท้น้อลูกแก้วแนวเจ้าพ่อบ่มี พ่อตายแล้วซิ่นแม่ขาดคาขา พ่อตายแล้วนาก็ขาดเข้าบ่มีเสาสิค้ำขื่อแม่เด้ ความทุกข์มาสู่มื้อลุงป้าบ่ว่าดี ตั้งแต่ก่อนก่อนกี้ตั้งแต่พ่อเจ้ายังมี ไผก็ดีปานหยังหมู่ฝูงลุงป้า อาว์อาพร้อมถนอมดีเกื้อกล่อม พ่อบ่มีเพิ่นบ่เว้าลุงป้าบ่ว่าหลาน
พริกกะอยู่เฮือนเหนือ เกลือกะอยู่เฮือนใต้ หัวสิงไคอยู่บ้านเผิ่น ขึ้นเฮือนลุงเพิ่นก็เว้า ขึ้นเฮือนอาว์เพิ่นก็เว้า ขึ้นเฮือนย่ากะบ่ได้กลัวย่านแต่แก่มกิน นอนสาหล่านอนอู่สายปอ นอนกะทอ ยาฮ้างสงนางบ่มีพ่อ เชือกอู่ขาดฮ้อยต่อบ่ติดกัน แม่นไผน้อสิมาฝั้นเลนปอเป็นเชือกอู่ ลูกแม่เอย นอนสาหล่าหลับตาแม่สิกล่อม นอนอู่ฝ้ายป้ายใส่อู่ไหม นางสายใจนอนสาเจ้าอย่าตื่น ฮอดมื้ออื่นยามเซ้าแม่สิไป แม่สิไปหาไม้หลัวฟืนคั่นมาผ่า เพราะแม่เป็นแม่ฮ้างผัวสิเลี้ยง... แม่นบ่มี ผัวซิซ้อน แม่นบ่มี... เอ้ย.... นอ

ภาพกิจกรรมนักศึกษาวิทยาลัยชุมชนยโสธร รุ่นที่ 1


                                     เข้าค่ายเรียนคุณธรรม  นำชีวิตพอเพียง  ปี 2550
           นักศึกษาวิทยาลัยชุมชนยโสธร....ต้องจากบ้านจากครอบครัว มาร่วมทำกิจกรรม
           เป็นเวลา  15  วัน   สัมผัสจริงกับหมู่บ้านอยู่กินแบบพี่น้อง  พ่อแม่ สนุกน๊าจะบอกให้
           จากนักศึกษาต่างถิ่นต่างหน้าไม่เคยรู้จักก้ได้มารู้จักนับถือเป็นพี่น้องกันก้ตอนมาเข้าค่าย
           นักศึกษาอยู่ที่ไหนนอนแบบไหนอาจารย์ก็อยู่เคียงข้างนักศึกษา  จะแดดจะร้อนอาจารย์ก็ไม่เคย
           ทิ้งนักศึกษา........น่ารัก....กันทุกคนเลยอาจารย์
           คิดถึงอาจารย์ทุกๆๆคนที่อยู่เคียงข้างนักศึกษา.....จึงได้มาถึงวันนี้

วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554

สุภาษิตผญาคำสอนของปราชญ์อีสาน

เห็นว่ามีสุขแล้วผักตำนิลบ่อยากเบิ่ง
เห็นว่ามีสุขแล้วบ่เหลียวแลพวกเพื่อน
ในโลกนี้บ่ห่อนอยู่เดียวเป็น
คันว่ามีผืนผ้าบ่หาแพรพาดบ่า

คันได้กินต่อนซิ้นปลากั้งบ่อยากเหลียว
            คันบ่สุขอยู่เรื่อยสิเหลียวหน้าเบิ่งไผ
            อยู่แต่คนเดียวดายบ่ห่อนเป็นเมืองบ้าน
            สินุ่งแต่ผ้าไปได้จั่งใด๋

        
คันแม่นผู้เฒ่าบ่เข้าวัดฟังธรรม
เขาสินินทาท้วงติเตียนทั้งโลก
เขาสิว่าเฒ่าแก่แดดบ่เหลียวเบิ่งทางตม
เขาสิว่าเฒ่าแข้วว้ำบ่เหลียวเบิ่งทางธรรม
เขาสิกำดินพึกใส่โฮยนำหน้า
            เขาสิสับโขกเว้าคนเฒ่าบ่ดี
          เขาสิว่าเฒ่าแก่ลมบ่เหลียวเบิ่งทางหน้า
           เขาสิบ่ยำแยงนบท่อใยยองน้อย
    
         คนเฮานี้ ต้องเผิ่งอาศัยกัน                                     คือดังปลาอาศัยน้ำ น้ำกะเผิ่งวังปลา
         ปลาอาศัยวังเวิน จึ่งล่องลอยนาน้ำ                       ทามอาศัยห้วย งัวควยอาศัยแอก
         ตาแฮกอาศัยไก่ต้ม จึงโดนตุ้มจากคอน                  คือดังคอนอาศัยไม้ นกใส่อาศัยโกน
          คนกะอาศัยคน เผิ่งกันโดยด้าม                            คามอาศัยหม้อ หมอมออาศัยส่อง
         ฆ้องอาศัยไม้ฆ้อน ตีต้องจึงค่อยดัง......สั่นแล้วพี่น้องเอ้ย

        
          สามัคคีกันไว้ คือข้าวเหนียวนึ่งใหม่               อย่าได้เพแตกม้าง คือน้ำถืกข้าวเหนียว
         สามัคคีกันไว้ คือฝนแสนห่า                            ตกลงมาจากฟ้า ไหลโฮมโห่งอยู่หนอง

การศึกษาไม่มีที่สิ้นสุด หลุมฝังศพคือจุดจบของชีวิตคนเรา