วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

การเมืองการปกครองของไทย

ประวัติการเมืองการปกครองของไทย
ประเทศไทยมีการบันทึกประวัติศาสตร์เป็นลายลักษณ์อักษรตั้งแต่งสมัยสุโขทัยประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองของไทยก็เริ่มตั้งแต่สมัยสุโขทัยเช่นกัน การเมืองการปกครองสมัยสุโขทัย(1781-1921) อาณาจักรสุโขทัยมีการแบ่งการปกครองออกเป็น 3 ยุด คือ ยุดแรก ปกครองแบบพ่อปกครองลูก คำนำหน้าพระนามพระมหากษัตริย์จะมีคำว่า พ่อขุนนำหน้า ลักษณะเด่น -มีพลเมืองน้อยปกครองง่าย มีความใกล้ชิดกันระหว่างประชาชนกับพระมหากษัตริย์ ยุคกลาง ปกครองแบบจักรพรรดิ คำนำหน้าพระนามของพระมหากษัตริย์จะมีคำว่า พญานำหน้า ลักษณะเด่น มีประชากรเพิ่มมากขึ้น ผู้ปกครองมีอำนาจเด็ดขาดมากขึ้น ยุคปลาย ปกครองแบบธรรมราชา คำนำหน้าพระนามของพระมหากษัตริย์จะมีคำว่า พระมหาธรรมราชาที่นำหน้า ลักษณะเด่น -นำเอาหลักธรรมของศาสนาพุทธในเรื่องการเป็นผู้นำผู้ปกครองมา ใช้ควบคุมพฤตกรรมพระมหากษัตริย์ คือ ทศพิธราชธรรม”  ประเทศไทยเป็นชาติที่เก่าแก่และมีประวัติความเป็นมา ที่ยาวนานชาติหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การศึกษาประวัติการเมืองการปกครองของไทย จึงเริ่มตั้งแต่ที่ไทยได้ตั้งอาณาจักรที่มั่นคงขึ้นในปี พ..1781 โดยอาณาจักรแรกของไทย คือ อาณาจักรสุโขทัย ซึ่งสถาปนาขึ้นโดยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ซึ่งเป็นต้นราชวงศ์พระร่วง
การเมืองการปกครองของไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ..2475 เป็นการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งเป็นการปกครองที่อำนาจสูงสุดเป็นของพระมหากษัตริย์แต่เพียงพระองค์เดียว ตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ การเมืองการปกครองของไทย แบ่งออกได้ 4 สมัย ดังนี้ (www.parliamentjunior.in.th : 17 ก.ย.51)
1. สมัยสุโขทัย ( .. 1792 - .. 1981 )
ในสมัยสุโขทัย การปกครองเป็นแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เนื่องจากอำนาจสูงสุดในการปกครองรวมอยู่ที่พ่อขุนพระองค์เดียว โดยพ่อขุนไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบต่อประชาชน ในสมัยสุโขทัยได้มีการจำลองลักษณะครอบครัวมาใช้ในการปกครอง ทำให้ลักษณะการใช้อำนาจของพ่อขุนเกือบทุกพระองค์ เป็นการใช้อำนาจแบบให้ความเมตตาและให้เสรีภาพแก่ราษฎรตามสมควร

ลักษณะทางการเมืองการปกครอง
ในสมัยสุโขทัย พ่อขุนแห่งกรุงสุโขทัยทรงเป็นประมุขและทรงปกครองประชาชนในลักษณะบิดาปกครองบุตรคือ ถือว่าพระองค์เป็นพ่อที่ให้สิทธิและเสรีภาพและมีความใกล้ชิดกับประชาชน มีหน้าที่ให้ความคุ้มครองป้องกันภัยและส่งเสริมความสุขให้ประชาชน ประชาชนในฐานะที่เป็นบุตรมีหน้าที่ให้ความเคารพและเชื่อฟังพ่อขุน
พ่อขุนกับประชาชนในรูปแบบของการปกครองแบบบิดาปกครองบุตร ก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน กล่าวคือ ประชาชนมีสิทธิถวายฎีกา หรือร้องทุกข์โดยตรงต่อพ่อขุน เช่น ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้มีกระดิ่งแขวนไว้ที่ประตูวัง ถ้าประชาชนต้องการถวายฎีกาก็จะไปสั่นกระดิ่ง พระองค์ก็จะเสด็จออกมาทรงชำระความให้
ในการจัดการปกครองอาณาจักรสุโขทัยซึ่งมีกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี หรือเป็นเมืองหลวงอำนาจในการวินิจฉัยสั่งการจะอยู่ที่เมืองหลวง ซึ่งเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์
พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยทรงดำเนินการปกครองประเทศด้วยพระองค์เอง โดยมีพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เป็นผู้ช่วยเหลือ ในการปกครองต่างพระเนตรพระกรรณ และรับผิดชอบโดยตรงต่อพระองค์
อาณาจักรสุโขทัยได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ที่พระองค์ได้ทรงรวบรวมหัวเมืองน้อยใหญ่เข้ามาไว้ในปกครองมากมาย จึงยากที่จะปกครองหัวเมืองต่าง ๆ เหล่านั้นด้วยพระองค์เองได้อย่างทั่วถึง
การปกครองเมืองต่าง ๆ ในสมัยสุโขทัยอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ           
  1. การปกครองส่วนกลาง
ส่วนกลาง ได้แก่ เมืองหลวงและเมืองลูกหลวง
เมืองหลวง คือ สุโขทัย อยู่ในความปกครองของพระมหากษัตริย์โดยตรง
เมืองลูกหลวง เป็นเมืองหน้าด่านที่อยู่รายล้อมเมืองหลวงทั้ง 4 ทิศ เมืองเหล่านี้พระมหากษัตริย์จะทรงแต่งตั้งให้พระราชโอรสไปปกครอง ซึ่งได้แก่
             (1) ทิศเหนือ เมืองศรีสัชนาลัย (สวรรคโลก)
             (2) ทิศตะวันออก เมืองสองแคว (พิษณุโลก)
             (3) ทิศใต้ เมืองสระหลวง (พิจิตร)
             (4) ทิศตะวันตก เมืองกำแพงเพชร (ชากังราว)
ในสมัยสุโขทัยเรียกเมืองหลวงและเมืองลูกหลวงรวมกันว่า ราชธานี
             2. การปกครองหัวเมืองหัวเมือง หมายถึง เมืองที่อยู่รอบนอกอาณาเขตของเมืองหลวง ซึ่งมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ
             2.1 หัวเมืองชั้นนอก
             หัวเมืองชั้นนอกเป็นเมืองที่อยู่ห่างไกลกรุงสุโขทัย หรืออยู่รอบนอกอาณาเขตของเมืองหลวง
             2.2 หัวเมืองประเทศราช
             หัวเมืองประเทศราชเป็นเมืองภายนอกพระราชอาณาจักร เมืองเหล่านี้มีกษัตริย์ของตนเองปกครอง แต่ยอมรับในอำนาจของกรุงสุโขทัย พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยเป็นเพียงเจ้าคุ้มครอง โดยหัวเมืองเหล่านี้จะต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวาย และส่งทหารมาช่วยรบเมื่อทางกรุงสุโขทัยมีคำสั่งไปร้องขอ

ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง กรุงสุโขทัยมีหัวเมืองประเทศราชจำนวนมาก เช่น เมืองเซ่า น่าน เวียงจันทน์ นครศรีธรรมราช ยะโฮร์ หงสาวดี เป็นต้น
ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง เมื่อ พ..1826 ได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้น โดยใช้อักษรมอญและอักษรขอม รวมทั้งอักษรไทยเก่าแก่บางอย่างเป็นตัวอย่าง ทำให้ชาติไทยมีอักษรไทยใช้เป็นวัฒนธรรมของเราเอง
ในสมัยสุโขทัย นอกจากจะมีความสัมพันธ์อันดีกับเมืองอิสระทางเหนือแล้ว ยังมีการค้าขายติดต่อกับต่างประเทศด้วย เช่น จีน มอญ มลายู ลังกา และอินเดีย สมัยสุโขทัยจึงเป็นสมัยที่เริ่มมีชาวต่างประเทศเข้ามาประกอบการต่าง ๆ เช่น ชาวจีนเข้ามาทำเครื่องสังคโลก และเป็นสมัยที่มีการสนับสนุนการค้าโดยไม่เก็บภาษีศุลกากร หรือ จกอบเพื่อเป็นแรงจูงใจสำหรับการค้าขายระหว่างประเทศมากขึ้น
นอกจากนี้ พ่อขุนรามคำแหงยังทรงศรัทธาในหลักปฏิบัติที่เคร่งครัดของพระภิกษุ ในพระพุทธศาสนานิกายหินยานที่มีความเจริญรุ่งเรืองอยู่ในประเทศลังกา โดยได้ทรงนิมนต์พระภิกษุสงฆ์ลัทธิลังกาวงศ์มาประจำที่กรุงสุโขทัย เพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนาลัทธิใหม่ และในเวลาไม่นานนัก พระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ก็มีความเจริญในสุโขทัย ประชาชนพากันยอมรับนับถือและกลายมาเป็นศาสนาประจำชาติไทยในที่สุด
การนำพระพุทธศาสนาเข้ามา และพ่อขุนรามคำแหงได้ทรงทำตัวอย่าง ให้ประชาชนเห็นถึงความเคารพของพระองค์ที่มีต่อพระภิกษุและหลักธรรม ทำให้ศาสนากลายเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ก่อให้เกิดศีลธรรมจรรยาและระเบียบวินัยแก่ประชาชน ทำให้มีความสามัคคีปรองดองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เกิดความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง เพราะทั้งพ่อขุนและประชาชนมีหลักยึดและปฏิบัติในทางธรรม
พระมหาธรรมราชาลิไทย พ่อขุนของสุโขทัยในสมัยต่อมา ได้ทรงนิพนธ์หนังสือไทยเรื่องเกี่ยวกับศาสนา ชื่อ ไตรภูมิพระร่วงและในหนังสือเรื่องนี้เอง ได้กล่าวถึง ทศพิธราชธรรมอันเป็นหลักธรรมของพระมหากษัตริย์ไทยตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
อาณาจักรสุโขทัยมีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ต่อมาก็ค่อย ๆ เสื่อมอำนาจ โดยบรรดาหัวเมืองประเทศราชต่าง ๆ เริ่มแยกตัวเป็นอิสระ ไม่ขึ้นต่อสุโขทัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหัวเมืองเผ่าไทยทางใต้ คือ กรุงศรีอยุธยา ได้แผ่อำนาจเข้ามามีอิทธิพลเหนือกรุงสุโขทัย ในที่สุด อาณาจักรไทยยุคสุโขทัยก็ต้องอยู่ภายใต้อิทธิพลของกรุงศรีอยุธยา
2. สมัยอยุธยาตอนต้น
    สมัยอยุธยา ( .. 1893 - .. 2310 )
             การปกครองในสมัยอยุธยาเป็นการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อำนาจในการปกครองจะอยู่ที่พระมหากษัตริย์เพียงพระองค์เดียว เหมือนกับในสมัยสุโขทัย แต่ต่อมา แนวความคิดในการปกครองนี้ได้เปลี่ยนแปลงไป

ลักษณะทางการเมืองการปกครอง
สมัยอาณาจักรอยุธยาตอนต้น มีการปกครองแบบเดียวกับสมัยสุโขทัย แต่หลังจากที่ไทยสามารถตีนครธมของขอมได้ใน พ..1974 และกวาดต้อนขุนนางและประชาชนชาวขอมที่เคยอยู่ภายใต้อำนาจของอินเดียเข้ามาในอยุธยาเป็นจำนวนมาก ขุนนางและประชาชนเหล่านี้ได้เอาแนวความคิดในการปกครองของเขมร ที่ได้รับอิทธิพลส่วนหนึ่งจากลัทธิพราหมณ์มาใช้ในกรุงศรีอยุธยา คือ แบบเทวราชา หรือ เทวสิทธิ ทำให้แนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องเทวราชาเข้ามามีอิทธิพลต่อสังคมไทยมากขึ้น และทำให้สถาบันการปกครองของไทยเปลี่ยนแปลงไป จากการปกครองแบบ "พ่อ" กับ "ลูก" ในสมัยสุโขทัย มาเป็นการปกครองแบบ "นาย" กับ "บ่าว" ทั้งนี้เพราะการปกครองแบบเทวสิทธิ์ถือว่า พระมหากษัตริย์เป็นเสมือนเจ้าชีวิต เป็นผู้มีอำนาจเด็ดขาด สามารถกำหนดชะตาชีวิตของผู้อยู่ใต้การปกครองได้ และถือว่าอำนาจในการปกครองนั้น พระมหากษัตริย์ทรงได้รับจากสวรรค์ เป็นเทวโองการ การกระทำของพระมหากษัตริย์ถือว่าเป็นความต้องการของพระเจ้า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นเสมือนเทพเจ้าองค์หนึ่ง หรือเป็น "สมมุติเทพ" กล่าวคือ เป็นนายของประชาชน และประชาชนเป็นบ่าวของพระมหากษัตริย์ที่จะขัดขืนมิได้โดยเด็ดขาด พระมหากษัตริย์จึงทรงเป็นเจ้าชีวิตของประชาชนทุกคน
สำหรับเรื่องการปกครองนั้น เนื่องจากสมัยอยุธยามีระยะเวลายาวนาน และมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบและหลักเกณฑ์ในการปกครอง ไม่ได้ใช้รูปแบบเดียวกันตลอดสมัย จึงอาจแบ่งการปกครองในสมัยอยุธยาออกได้เป็น 2 สมัย คือ
               2.1 สมัยอยุธยาตอนต้น ( ..1893 - .. 1991 )
            การปกครองในสมัยอยุธยาตอนตัน เริ่มตั้งแต่ พ..1893 ในรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1  (อู่ทอง) ซึ่งเป็นผู้สถาปนาอาณาจักรอยุธยา ไปจนกระทั่งถึงสิ้นรัชสมัยของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ใน พ..1991   การจัดระเบียบการปกครองในสมัยอยุธยาตอนต้น แบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ                   

  
 1) การปกครองส่วนกลาง  พระเจ้าอู่ทองได้ทรงจัดระเบียบการปกครองส่วนกลางเป็นแบบจตุสดมภ์ตามแบบขอม มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้อำนวยการปกครองสูงสุด และมีเสนาบดี 4 คน คือ ขุนเมือง (เวียง) ขุนวัง ขุนคลัง และขุนนา เป็นผู้ช่วยดำเนินการเกี่ยวกับกิจการทั้ง 4 คือ
                            (1) เมือง (เวียง) รับผิดชอบด้านรักษาความสงบและปราบปรามโจรผู้ร้าย
                           (2) วัง รับผิดชอบเกี่ยวกับราชสำนัก การยุติธรรม และตัดสินคดีความต่าง ๆ
                            (3) คลัง รับผิดชอบงานด้านคลังมหาสมบัติ การค้า และภาษีต่าง ๆ
                            (4) นา รับผิดชอบเกี่ยวกับการเกษตร
โดยให้ กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และเป็นศูนย์กลางการปกครอง

                     2) การปกครองหัวเมือง
             สมัยอยุธยาตอนต้นได้แบ่งการปกครองหัวเมือง ออกเป็นหัวเมือง 3 ประเภท คือ
                          (1) หัวเมืองชั้นใน  หัวเมืองชั้นในประกอบด้วยเมืองหน้าด่านชั้นในสำหรับป้องกันในราชธานี 4 ทิศ คือ ลพบุรี นครนายก พระประแดง และสุพรรณบุรี รวมทั้งหัวเมืองชั้นในเรียงรายตามระยะทางคมนาคม สามารถติดต่อกับราชธานีได้ภายใน 2 วัน เช่น นครพนม สิงห์บุรี ปราจีนบุรี ชลบุรี เพชรบุรี ราชบุรี เป็นต้น
                          (2) หัวเมืองชั้นนอก  หัวเมืองชั้นนอกหรือเมืองพระยามหานคร ได้แก่ เมืองซึ่งอยู่นอกเขตหัวเมืองชั้นใน และอยู่ไกลออกไปตามทิศต่าง ๆ ได้แก่ ทิศตะวันออก เช่น โคราช จันทบุรี ทิศใต้ เช่น ไชยา นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ถลาง ทิศตะวันตก เช่น ตะนาวศรี ทวาย และเชียงกราน เมืองเหล่านี้บางเมืองในสมัยสุโขทัย จัดเป็นเมืองประเทศราช แต่ในสมัยอยุธยาได้เปลี่ยนสภาพมาเป็นหัวเมืองชั้นนอก
                          (3) หัวเมืองประเทศราช 
หัวเมืองประเทศราช ได้แก่ เมืองมะละกา ยะโฮร์ ทางแหลมมลายู และกัมพูชาด้านตะวันออก
                การปกครองส่วนภูมิภาคนอกจากจัดเป็นหัวเมืองต่าง ๆ แล้ว ยังมีการจัดระเบียบการปกครองท้องที่ในหัวเมืองชั้นในอีก โดยแบ่งออกเป็นแขวง แขวงแบ่งออกเป็นตำบล และตำบลแบ่งออกเป็นหมู่บ้าน โดยมีผู้ปกครองตามระดับ คือ หมื่น เป็นบรรดาศักดิ์ของหัวหน้าผู้ปกครองระดับแขวง และพันเป็นบรรดาศักดิ์ของหัวหน้าผู้ปกครองระดับตำบลและหมู่บ้าน

ประชาชนในสมัยอยุธยาตอนต้นมีฐานะเป็นไพร่ ทำหน้าที่ทั้งทางทหาร และหน้าที่ทางพลเรือนพร้อมกันไป เพราะว่าการปกครองในสมัยนั้นยังไม่ใช้ทฤษฎีการแบ่งงาน ประชาชนเป็นไพร่ได้รับที่ดินตามที่ตนและครอบครัวจะทำการเพาะปลูกได้ เมื่อมีผลผลิตเกิดขึ้น ไพร่จะต้องมอบส่วนหนึ่งให้กับขุนวัง หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ดูแลที่ดินนั้น ไพร่จะต้องสละเวลาส่วนหนึ่งไปรับใช้ผู้ที่ยอมให้ตนอยู่ในที่ดินของเขา ขุนนางจะเป็นผู้ควบคุมไพร่โดยตรง และมีหน้าที่ระดมกำลังยามศึกสงคราม หรือเกณฑ์แรงงานไปช่วยทำงานสาธารณประโยชน์ ซึ่งเท่ากับว่าประชาชนหรือไพร่ทุกคนต้องรับใช้พระมหากษัตริย์ หรือไพร่มีฐานะเป็นทหารทุกคน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น